
ต้องยอมรับว่าระบบดับเพลิงสำคัญมากที่สุด เป็นตัวปิดเกมส์หลังได้บ้านที่สวยงาม อยู่สบายแล้ว ต้องไม่ลืมติดตั้งระบบแจ้งเตือน และ ป้องกันไฟไหม้ให้บ้านด้วยค่ะ
บ้านนะ ไม่ใช่ตึกใหญ่ ต้องมีระบบดับเพลิงด้วยหรอ?
มาดูกันว่ากฎหมายควบคุมอาคารจะเเบ่งอย่างไร และจะต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้างสำหรับอาคารที่มีลักษณะต่างกัน
1.บ้านทั่วไป : ต้องมีถังดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงประเภทมือถืออย่างน้อยคูหาละ 1 เครื่อง
2.บ้านสูง 2 ชั้นขึ้นไป : ต้องมีถังดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงประเภทมือถืออย่าง 1 เครื่อง และต้องติดตั้งสัญญาณเตือนภัยด้วย
3.บ้านสูง 3 ชั้นขึ้นไป : ต้องมีถังดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงประเภทมือถืออย่าง 1 เครื่อง ต้องติดตั้งสัญญาณเตือนภัย และต้องมีบันไดหนีไฟด้วย
ถังดับเพลิง มีหลายสีมากๆ ใช้ต่างกันมั้ย?
เครื่องดับเพลิงแต่ละชนิดจะบรรจุสารภายในถังที่แตกต่างกันเพื่อสามารถในการดับเพลิงแต่ละประเภท
1. “ถังดับเพลิงสีแดง”
เป็นถังดับเพลิงที่ได้รับความนิยม และสามารถพบได้ทั่วไปตามอาคาร บ้านพัก และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ถังดับเพลิงสีแดง คือ ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) และ ถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2)
ซึ่งถังดับเพลิงทั้งสองประเภทนี้มีคุณสมบัติในการดับเพลิง และสถานที่ใช้งานแตกต่างกัน
1.1 ถังดับเพลิงชนิดผงเคมี : (บรรจุผงเคมีแห้งและก๊าซไนโตรเจนเป็นสารขับดัน)
– เหมาะสำหรับ : ติดตั้งทั่วไป เมื่อฉีดจะเป็นฝุ่นฟุ้งกระจาย จึงเหมาะกับใช้ในพื้นที่โล่ง ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
– ข้อควรระวัง: หลังจากการใช้งาน น้ำยาดับเพลิงจะใช้หมด หรือไม่หมดก็ตาม ต้องทำการบรรจุน้ำยาดับเพลิงใหม่ทุกครั้ง
1.2 ถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ : (บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์)
– เหมาะสำหรับ : ติดตั้งภายในอาคาร เมื่อฉีดออกมาแล้วจะมีลักษณะเป็นไอเย็นจัดของน้ำแข็งแห้ง (Dry Ice) ปกคลุมบริเวณที่เกิดเพลิงลุกไหม้ ช่วยให้ลดความร้อนและดับเพลิงได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังการฉีดทำให้ไม่เกิดความเสียหายต่อสิ่งของและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
– ข้อควรระวัง: ควรวางไว้ในที่ร่ม ที่มีอุณหภูมิไม่สูงมาก และปราศจากแสงแดดส่องถึง หรือใกล้เตาไฟ และไม่ควรจับปลายหัวฉีดก๊าซ CO2 ขณะใช้งานและหลังใช้งานใหม่ๆ
2. “ถังดับเพลิงเขียว”
ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย (Clean Agent)
– เหมาะสำหรับ : ติดตั้งภายในอาคาร ห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวน้ำยาเป็นก๊าซเหลวระเหย ที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ไม่เป็นสื่อในการนำไฟฟ้า โดยเมื่อฉีดออกมาสารเคมีจะระเหยไปในอากาศจะไม่ทิ้งคราบตกค้าง ช่วยประหยัดเวลาในการทำความสะอาด และที่สำคัญถังดับเพลิงสีเขียวไม่ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้งาน จึงเหมาะใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ
เหมาะสำหรับติดตั้ง: สถานที่ที่เน้นเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ เช่น อาคาร สำนักงาน โรงพยาบาล ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเซิร์ฟเวอร์ ห้องควบคุมไฟฟ้า ห้องแลป ห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และไลน์การผลิตที่มีเครื่องจักรมูลค่าสูง ฯลฯ
3. ถังดับเพลิงสีน้ำเงินหรือสีฟ้า
ถังดับเพลิงสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน คือ ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือ ถังดับเพลิงชนิดละอองน้ำแรงดันต่ำ
– เหมาะสำหรับ : ติดตั้งภายในบ้านพัก อาคารสำนักงาน ทั้งนี้นอกจากถังดับเพลิงสูตรน้ำแล้ว บางยี่ห้อถังดับเพลิงสีฟ้าอาจจะคือถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหยที่มีส่วนประกอบของ HCFC-123 ด้วย
4. ถังดับเพลิงสีเงินหรือสีขาว
ถังดับเพลิงสีเงิน คือ ถังดับเพลิงชนิดโฟม
โดยตัวถังจะเป็นสแตนเลส เนื่องจากภายในถังบรรจุน้ำที่เป็นส่วนประกอบหลัก AR-AFFF
– เหมาะสำหรับ : ติดตั้งภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และสารระเหยติดไฟ และปั๊มน้ำมัน
– ข้อควรระวัง : ห้ามนำเครื่องดับเพลิงชนิดโฟมไปดับประเภท C อันได้แก่ วัตถุเชื้อเพลิงที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า เช่น กรณีการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เนื่องจากน้ำยาโฟมมีน้ำเป็นส่วนประสม ซึ่งน้ำเป็นสื่อในการนำไฟฟ้า
ถังดับเพลิงสีขาว คือ ถังดับเพลิงที่บรรจุสารดับเพลิง Potassium Acetate เหมาะสำหรับติดตั้งในร้านอาหาร โรงอาหาร ห้องครัว เป็นต้น
5. ถังดับเพลิงสีเหลือง
ถังดับเพลิงสีเหลือง คือ ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย ที่มีส่วนผสมของสารฮาโลตรอน (Halotron) ที่มีประสิทธิภาพในการดับไฟสูง แต่มีข้อเสียเนื่องจากสารฮาโลตรอนเป็นสาร CFC ที่ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศ ทำให้ในปัจจุบันถูกระงับการจำหน่าย และเปลี่ยนมาใช้ถังดับเพลิงสีเขียวแทน
ก่อนไฟไหม้ .. ต้อง”ตรวจจับ” ให้ได้ก่อน
ระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้ หรือที่เรียกว่า “ระบบ Fire Alarm” ไม่ได้มีแค่อุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเตือนอย่างเดียว แต่ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ทำงานกันเป็นทีม ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ, อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน, ตู้ควบคุม และอุปกรณ์สัญญาณแจ้งเตือน (อุปกรณ์เบื้องต้น)
ระบบตรวจจับไฟไหม้มี เทคโนโลยีหลายประเภท เช่น
1. เซ็นเซอร์ควัน (Smoke Detectors)
ใช้ตรวจจับควันที่เกิดจากไฟไหม้ โดยปกติแล้วควันมักจะลอยตัวขึ้นที่สูงเสมอ ดังนั้น อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟนี้จะคอยตรวจจับอนุภาคของควันที่ลอยเข้ามาในเครื่อง หากอนุภาคของควันเข้าไปขัดขวางการทำงานของวงจรไฟฟ้าจนเกินค่าที่กำหนด อุปกรณ์ตรวจจับควันก็จะส่งสัญญาณต่อไปที่ตู้ควบคุม เพื่อแจ้งเหตุต่อไป
– ไม่เหมาะกับห้องครัว เพราะครัวมักมีควันไฟจากการทำอาหารบ่อยๆ ดังนั้นจึงเหมาะกับห้องทั่วไป เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน เป็นต้น
2. เซ็นเซอร์ความร้อน (Heat Detectors)
ถานที่ตรงจุดนั้นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นเกินกว่าค่าที่กำหนด อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนก็จะส่งสัญญาณไปที่ตู้ควบคุมเพื่อแจ้งเหตุ
การทำงานคล้าย ๆ กับอุปกรณ์ตรวจจับควันเลย ซึ่งอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนนี้ ก็มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น
1. Rate-of-Rise : เป็นการตรวจจับความร้อนตามอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ เช่น ถ้าภายใน 1 นาทีมีอุณหภูมิห้องสูงขึ้นอย่างผิดปกติ ก็จะมีการส่งสัญญาณไปที่ตู้ควบคุม
2. Fixed Temperature : เป็นอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอุณหภูมิคงที่ ก็คือถ้าอุณหภูมิบริเวณนั้น ๆ แตะจุดสูงสุดของเซนเซอร์ที่ได้ตั้งไว้ เช่น 70 องศาเซลเซียส มันก็จะส่งสัญญาณไปที่ตู้ควบคุม
3. Mechanical Heat Detector : เป็นการผสมผสานกันระหว่าง Rate of Rise และ Fixed Temperature นั่นเอง
3. เซ็นเซอร์เปลวไฟ (Flame Detector, Flame Checker)
มักจะนำไปติดตั้งไว้บริเวณที่มีความอันตรายและมีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุเพลิงไหม้สูง หรือบริเวณที่เสี่ยงต่อการระเบิด
เช่น คลังน้ำมัน หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
อุปกรณ์ตัวนี้จะตรวจจับเฉพาะคลื่นแสงจากเปลวไฟเท่านั้น โดยไม่ถูกรบกวนจากหลอดไฟและแสงอินฟราเรดอื่นๆ
ทำให้ไม่เกิดการตรวจจับผิดพลาด (False Alarm)
ปัจจุบันนี้มีการพัฒนา “ระบบ Smart Fire Alarm” คือ ระบบสามารถแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลได้ตลอดเวลาผ่าน Application บนสมาร์ทโฟน ซึ่งสามารถบอกได้ว่าจุดไหน บริเวณใดที่กำลังเกิดเหตุไฟไหม้อยู่
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้งานร่วมกับระบบกันขโมยและควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านหรือบริษัทได้อีกด้วย