
A Solar Co.,Ltd. ผู้ที่ทำให้การติดตั้ง Solar Roof ที่บ้าน ง่าย คุ้ม คืนทุน ไว. | รับประกันผลงาน นับพัน site งาน
ติด solar cell ดีมั้ย
การติดตั้งโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) มีข้อดีและข้อเสียที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเรื่องนี้ ดังนี้:
ข้อดีของการติดตั้งโซลาร์เซลล์
- ลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงาน: โซลาร์เซลล์ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานฟรี ดังนั้นคุณสามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีแสงอาทิตย์มากๆ
- มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม: การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือก๊าซเรือนกระจก และไม่ส่งออกคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้โซลาร์เซลล์ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ลดการใช้พลังงานที่มาจากแหล่งพลังงานที่เกิดปัญหา: เช่นพลังงานไฟฟ้าจากปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติซึ่งนับวันจะลดจำนวนลง และไฟฟ้าจากถ่านหินที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- ช่วยเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน: การติดตั้งโซลาร์เซลล์สามารถเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของบ้านหรืออาคาร และเป็นที่นิยมในการลงทุนที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ในระยะยาว
ข้อเสียของการติดตั้งโซลาร์เซลล์
- ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง: ต้นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์อาจสูง ซึ่งอาจทำให้คุณต้องลงทุนเป็นจำนวนมากในตอนแรก แต่ในระยะยาวอาจส่งกำไรกลับมาให้เราได้ค่ะ
- ความพิเศษในการติดตั้ง: ในบางกรณี คุณอาจต้องมีพื้นที่ว่างหรือหลังคาที่เหมาะสมในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถติดตั้งได้ในบ้านหรืออาคารบางแห่ง
- ผลกระทบจากสภาพอากาศ: ในบางสถานที่ โซลาร์เซลล์อาจได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศต่างๆ เช่น การแดดไม่เพียงพอในช่วงเวลาบางช่วง หรือฝนที่ตกติดต่อกันนาน ทำให้ความผลิตของพลังงานนั้นลดลง
- การบำรุงรักษา: ควรต้องมีการบำรุงรักษาโซลาร์เซลล์อย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์เพื่อให้มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด
ติด solar cell ต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง
ต้นทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์มีความแตกต่างอยู่ตามขนาดของระบบและปริมาณพลังงานที่ต้องการผลิต นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับประเทศที่คุณอาศัยอยู่ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และความน่าเชื่อถือของผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์
ในการคำนวณต้นทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ คุณควรพิจารณาหลายปัจจัยดังนี้
- ขนาดของระบบ: ขนาดของระบบโซลาร์เซลล์มีผลต่อต้นทุน ระบบที่ใหญ่กว่าจะมีต้นทุนสูงกว่า
- ความหนาแน่นของแผงโซลาร์: ระบบที่มีแผงโซลาร์ที่หนาแน่นมากๆ มีต้นทุนสูงกว่า
- พื้นที่สำหรับติดตั้ง: ขนาดและรูปแบบของพื้นที่สำหรับติดตั้งโซลาร์เซลล์จะมีผลต่อต้นทุน
- การติดตั้งและอุปกรณ์: ค่าติดตั้งและอุปกรณ์เสริมอาจมีต้นทุนเพิ่มเติม
- กระแสกระจายไฟ: การกระจายและความต้องการพลังงานในพื้นที่ของคุณสามารถส่งผลต่อต้นทุนได้ เช่น หากอาคารขนาดใหญ่ต้องการพลังงานทั่วทุกจุดเป็นต้น
- การสำรองพลังงานไฟฟ้า (Battery Storage): หากคุณต้องการเก็บพลังงานไว้ใช้ในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ การเพิ่มระบบเก็บพลังงานในระบบอาจทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น
- สิทธิ์ในการส่งพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ขายคืนให้กับการไฟฟ้า : การขายพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไม่หมดคืนให้กับการไฟฟ้าก็ช่วยทำให้ค่าไฟโดยรวมประหยัดขึ้นไปอีก
ติด Solar Cell ใช้เงินเท่าไหร่ ?
ราคาจะตกประมาน 25-40 บาท/W เช่น ติด 5kW ก็เอา 5000W x 25-40 บาท = 125,000 บาท – ไม่เกิน 200,000 บาท
โดยส่วนมากขนาดเล็กๆอย่างบ้านเรือนก็จะอยู่ราวๆ 27 – 35บาทต่อ Wp และส่วนสเกลใหญ่ตามโรงงานอยู่ราวๆ 20-28 บาทต่อ Wp ค่ะ
สำหรับการติดโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน หากเราไปถามผู้ติดตั้งทั่วๆไปที่เน้นราคาถูกเราจะได้ราคาอยู่ที่ประมาณ 110,000 – 130,000 สำหรับระบบ 5kW (ขนาดที่นิยมสำหรับโฮมออฟฟิศขนาดเล็ก) ซึ่งจะลดค่าไฟได้ประมาณ 2,500-3,000 บาทต่อเดือนโดยประมาณ
ราคาระบบโซล่าเซลล์ 5kW (Full option) แบบ Premium แล้วจะอยู่ราวๆ 200,000 บาท
ราคาระบบโซล่าเซลล์ 10kW (Full option) แบบ Premium แล้วจะอยู่ราวๆ 350,000 บาท
ราคาอาจเพิ่มขึ้น จากการเพิ่ม Option เสริมต่างๆ
- เปลี่ยนไปใช้ แผงโซล่าร์ Tier 1 (คือแผงที่ผลิตจากบริษัทที่น่าเชื่อถือที่สุด) จะตกคร่าวๆนะ อยู่ราวๆ 2,000-2,500 บาทต่อ kWp
เปลี่ยนไปใช้ Inverter เกรดดีหน่อย เช่น Huawei อาจจะต้องเพิ่มประมาณ 4,000-6,000 บาทต่อ kWp - ค่าขออนุญาติอยู่ราวๆ 20,000-30,000 บาท ระบบเกิน 10kW ราคาจะสูงกว่านี้เล็กน้อย (เป็นค่าวิศวกร, ค่าคนเดินเรื่อง, ค่าเปลี่ยนมิเตอร์ ค่ะ)
- การรับประกันการติดตั้ง ตรงนี้โดยมากควรจะรับประกันอยู่แล้ว ปัจจุบันยังไม่เคยเห็นบริษัทไหนที่ไม่รับประกันแล้วคิดค่าประกันเพิ่ม แต่ควรตรวจสอบตรงนี้ทุกครั้งก่อนเซ็นสัญญานะ (ตรงนี้ควรรวมค่าล้างแผงปีละ 1 ครั้ง และเช็คระบบปีละ 1 ครั้งด้วยค่ะ)
- คุณภาพการติดตั้งโดยมากผู้ติดตั้งที่ดีจะมีอุปกรณ์ safety ต่างๆ สลิงในการทำงานบนหลังคา แผ่นสำหรับเหยียบเพื่อกันกระเบื้องแตกโดยเฉพาะกระเบื้องลอนคู่ ซึ่งโดยมากผู้รับเหมาไทยไม่ค่อยมีตรงนี้ บริษัทไหนมีราคาค่าติดตั้งก็จะสูงกว่าเจ้าอื่นเล็กน้อย หากเป็นดาดฟ้าต้องใช้ mounting จะตกราคา 2,000 บาทต่อ kWp โดยประมาณ
- ระยะสายไฟต่างๆ ซึ่งโดยปกติผู้ติดตั้งจะให้ฟรีประมาณ 20-50 เมตรแรก ส่วนหากเกินกว่านี้จะต้องเพิ่มค่าสายไฟประมาณ 30-100 บาทตามระยะ
- ระยะการเดินทางของผู้ติดตั้ง อันนี้แล้วแต่ทางผู้รับเหมา “ควรเลือกผู้ติดตั้งใกล้บ้าน” ที่มีศูนย์ให้บริการที่เข้าถึงได้สะดวก และช่างไม่ต้องเดินทางไกล
สิ่งที่ทำให้ ระบบโซล่าเซลล์ “ราคาแตกต่างกัน”
- เกรดของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้ง เช่น แผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ เกรดสายไฟ ต่างๆ
- ระบบไฟฟ้าเป็น 1 เฟสหรือ 3 เฟส
- ราคานี้รวมค่าการขออนุญาตหรือไม่
- ระยะเวลาในการรับประกันหลังติดตั้ง โดยมากในเมืองไทยจะอยู่ที่ประมาณ 1-3 ปี
- คุณภาพการติดตั้งต่างๆ เช่น ความปลอดภัยในการขึ้นติดบนหลังคา ตรงนี้ต้องบริษัทใหญ่หน่อยจะมีเครื่องมือโรยตัว นั่งร้านที่แข็งแรง และไม่ทำความเสียหายกับตัวบ้านเรา
- ลักษณะการติดตั้ง เช่น ติดรางบนหลังคา หรือ ติดบนดาดฟ้า ซึ่งจะมีโครงสร้างที่ต่างกัน เช่นถ้าต้องทำโครงสร้างบนด้านฟ้าให้สูงขึ้น ต้องเปลืองค่าโครงสร้างแพงขึ้นกว่าทั่วไปสักหน่อย
- ระยะสายไฟ หากบ้านมีพื้นที่ใหญ่ ระยะการโยงสายไกล อาจจะต้องเสียค่าสายไฟเพิ่ม
- ระยะการเดินทางของผู้ติดตั้ง (พยายามเลือกผู้ติดตั้งที่มีศูนย์บริการใกล้บ้าน จะได้ดูแลหลังการขายง่ายด้วย)
ดูยังไงว่า “บ้านเราเหมาะ” สำหรับการติด Solar Cell
1. ค่าไฟปกติ เกินกว่า 3,000 บาท/เดือน (ถ้าต่ำกว่านี้ จะคืนทุนยาก)
2. มีการใช้ไฟฟ้าเวลากลางวันที่แดดออก : เช่นคนทำงาน work from home หรือ Home Office หรือ สำนักงาน โรงงานที่มีการใช้ไฟฟ้าตอนกลางวัน เพราะ ถ้าติดตั้งแบตเตอร์รี่สำรองไฟ เก็บไฟที่ได้จากแดดกลางวันไปใช้กลางคืน ทำได้ แต่ค่าแบตทำให้ราคาค่าติดตั้งแพงขึ้นเป็น 2 เท่า ยิ่งทำให้คืนทุนช้าลง
3. มีจุดที่รับแดดได้ดีตลอดทั้งวัน ไม่มีเงาตึก หรือ ต้นไม้ใหญ่บังแดด
4. ถ้าจะติดบนหลังคา หรือดาดฟ้า ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงมากพอ ที่จะรับน้ำหนักเพิ่มได้ เนื่องจาก แผงโซล่าเซลล์ มีน้ำหนักประมาณหนึ่ง
5. ลักษณะหลังคา ควรลาดเอียงประมาณ 15 องศา หันไปทางทิศใต้ (เพราะ แนวโคจรของดวงอาทิตย์จะอ้อมไปทางทิศใต้) จะดีที่สุด เพราะจะสามารถรับแดด ช่วงที่แรงที่สุดของวันอย่างสาย และ บ่าย ได้ดี กว่า หลังคาที่เป็นแนวระนาบกับพื้น .. โดยถ้าติดตั้งบนดาดฟ้า ก็ต้องทำโครงสร้างเพื่อให้แผง Solar Cell เอียงทำมุมรับแดดได้เต็มที่ที่สุด .. โครงสร้างเดิมของอาคารต้องแข็งแรงมากพอ
เลือกผู้รับเหมา ยังไงดี ?
1. ควรเลือกผู้รับเหมาที่มีศูนย์ให้บริการใกล้บ้านเรา : เพราะการติดตั้งแผง Solar Cell ต้องมีการเดินทางมาหน้างานหลายรอบ ตั้งก่อนติดตั้ง, ตอนที่ติดตั้ง อาจกินเวลา > 1 วัน ถ้าติดจำนวนแผงเยอะ และต้องทำโครงสร้างพิเศษ , ตอนดูแลรักษาระหว่างทาง เช่น อย่างน้อยปีละครั้งต้องมาดูความเรียบร้อย และประสิทธิภาพการทำงานของแผง
2. ควรเลือกบริษัทใหญ่หน่อย ที่มีวิศวกร ควยคุมดูแลการติดตั้ง : เพราะ ต้องคำนวณน้ำหนักแผง Solar Cell กับโครงสร้างบ้านว่าสามารถรับน้ำหนักได้มั้ย บางบริษัทคือมีแต่ช่างที่รู้เทคนิคการติดตั้ง แต่สรวจสอบโครงสร้างและการรับน้ำหนักไม่เป็น
3. ควรเลือกบริษัทที่มีเทคโนโลยี : เพราะ Solar Cell ที่ดีควรเชื่อมต่อกับ application ในมือถือได้ เพื่อให้เราสามารถเช็คได้ว่า ประสิทธิภาพในการทำงานของแผงยังปกติดีอยู่มั้ย เก็บไฟได้เท่าไหร่ เหลือไฟเท่าไหร่ เราจึงสามารถคำนวณจุดคุ้มทุนที่แท้จริงได้ ไม่ใช่ติดแล้วก็จบแล้วแต่ดวง เดาๆไปว่าเดี๋ยวก็คุ้มทุน เผลอๆ แผงเสียก็ไม่รู้ตัว รู้อีกทีก็คือ ทำไมค่าไฟไม่ถูกเหมือนเดิม เป็นต้น
4. เลือกผู้รับเหมา ที่เข้าถึงอุปกรณ์เกรดที่มีประสิทธิภาพ สามารถ แปลงแดดเป็นไฟฟ้าได้เต็มที่ : เพราะอุปกร์ Solar Cell สามารถเปลี่ยนแดดเป็นพลังงานไฟฟ้าได้เหมือนกันหมดก็จริง แต่ประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานย่อมแตกต่างกันแน่นอน
เลือก A-Solar ที่มีอยู่ใน Home Pro ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ
มีศูนย์บริการทั่วประเทศ กว่ากว่า 10 สาขา
มีประสบการณ์สูง การันตีกว่า 2,500 ไซต์งานทั่วประเทศ
ควบคุม โดย วิศวกรทุกขั้นตอน
ตรวจสอบ Promotion และ ปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้ที่ website ได้เลยค่ะ
https://www.asolar.co.th/